ชนิดของกิจกรรมที่เป็นกีฬาเพื่อสุขภาพ
1. กีฬาแข่งขัน :
ถ้าดูจากการแข่งขันกีฬา จะเห็นได้ว่าการแข่งขันกีฬาหลายประเภทไม่เข้าลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ เช่น ไม้เหมาะสมกับสภาพของร่างกายผู้เล่น ( เช่นอายุน้อยหรือมากเกิน ) ผู้เล่นไม่สามารถควบคุมความหนักเบาในการเล่นได้เพราะถูกบังตับโดยเกมส์ หรือคู่แข่งขัน ลักษณะของการแข่งขันไม่เป็นการฝึกความอดทน ของระบบการหายใจและการไหลเวียนโลเลือด ( เช่น วิ่งเพียง 100 เมตร ) รวมทั้งอาจมีอันตรายมากอยู่ในตัวเนื่องจากต้องมีการปะทะกันอย่างรุนแรง ถ้าดูจากการฝึกซ้อมของแต่ละกีฬา เกือบทุกกีฬาจะมีการฝึกซ้อมที่เพิ่มสมรรถภาพทางกายด้านที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น กีฬามวย การทำกายบริหาร ชกลม ชกกระสอบทราย ยกน้ำหนัก วิ่ง เป็นการฝึกฝนสมรรถภาพทางกาย ที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพทั้งนั้น การนำวิธีฝึกของกีฬาแข่งขันต่าง ๆ มาฝึกฝนร่างกาย จึงถือได้ว่าเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพด้วย
2. เกมส์และการละเล่นที่ใช้แรงกาย :
หลายชนิดสามารถนำมาจัดให้เป็นกีฬาเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากผลต่อสุขภาพทางกายแล้ว ยังมีผลสูงต่อสุขภาพจิต เพราะไม่เคร่งเครียดมาก และช่วยให้หย่อนใจ สนุกสนาน เพลิดเพลิน ด้วยเกมส์การละเล่นพ้ืนบ้าน รวมทั้งการแสดงทางวัฒนธรรมหลายอย่าง เช่น การเล่นตี่จับ ลิงชิงบอล วิ่งเปี้ยว ตะกร้อวง เถิดเทิง กลองยาว ฯลฯ มีลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพอยู่ในตัวหลายข้ออยู่แล้ว
3. กายบริหาร :
ให้ผลต่อระบบการเคลื่นไหว คือข้อและกล้ามเนื้อ โดยทำให้มีความคล่องแคล่ว และทรวดทรงดีขึ้น แต่ให้ผลน้อยต่อระบบการหายใจ และการไหลเวียนเลือด เนื่องจากไม่ต่อเนื่องนานพอหรือหนักพอ โดยทั่วไป จะใช้ประกอบการออกกำลังกายอื่น และใช้เป็นส่วนสำคัญของการอบอุ่นร่างกาย ในการฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬา
4. การออกกำลังกาย :
ในที่นี้หมายถึงการฝึกฝนร่างกายด้วยตนเอง หรือโดยการไปออกกำลังในสถานบริหารร่างกาย การฝึกฝนร่างกายด้วยตนเองสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น วิ่งเหยาะ กระโดดเชือก ถีบจักรยานเที่ยวเล่นหรือถีบอยู่กับที่ ก้าวขึ้นลงบันใดชั้นเดียว ว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสมรรถภาพของระบบการหายใจ และการไหลเวียนเลือดโดยตรง การออกกำลังโดยการยกลูกน้ำหนัก (แบบเล่นกล้าม) เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีกิจกรรมอื่นที่ฝึกการหายใจ และการไหลเวียนเลือดด้วย ไม่ถือเป็นกีฬาเพื่อสุขภาพ
5. งานอาชีพและงานอดิเรกที่ใช้แรงกาย
ถ้าคิดปริมาณของการใช้แรงกายแล้ว งานอาชีพหรืองานอดิเรกที่ใช้แรงกายที่ทำทั้งวัน อาจมากกว่าการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ที่กล่าวมาแล้ว แต่ผู้ปฏิบัติจำนวนมากไม่ได้ผลในการส่งเสริมสุขภาพไปด้วย เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้เข้ากับลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ เช่น ไม่ได้ทำกายบริหารก่อนเริ่มใช้แรงกาย ทำไปหยุดไปโดยไม่มีช่วงติดต่อกันนานพอ เป็นต้น การปรับวิธีการใช้แรงกายให้เข้ากับลักษณะของกีฬาเพื่อสุขภาพ